โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ

เปิดให้บริการ

ทุกวัน 24 ชม.

โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ

ไม่มีหลักฐานแน่นอนแต่พอประมาณได้ว่าราว ร.ศ. 120 ตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของที่แม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 9 ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในขณะนั้นเรียกว่ากองพยาบาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2476 ย้ายจากบริเวณอาคารกองพันทหารช่างที่ 4 มาตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ปัจจุบันในเขตตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในที่ดินประมาณ 50 ไร่ อาคาร 6 หลัง ชั้นเดียวใต้ถุนสูง อาคารดังกล่าวทางราชการได้สั่งรื้อไปแล้ว 3 หลัง เพราะชำรุดมาก อีก 3 หลัง ภาพพจน์ที่เห็นในปัจจุบัน กรมธนารักษ์ได้อนุมัติให้รื้อถอนแล้วตามหนังสือที่ กค. 0405/01602 ลง 5 เม.ย. และมีความเป็นมาตามลำดับรายนามผู้บังคับบัญชาโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ ตั้งแต่ ร.ศ. 128 ถึง ปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้

  • ร.ศ. 128 ร.อ.ขุนพิทักษ์โยธา (แอ็ด) เป็นผู้บังคับบัญชากองพยาบาลที่ 6
  • ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2454) ร.อ.เทียบ เป็นผู้บังคับบัญชากองพยาบาลที่ 6 และใน พ.ศ. 2456 ร.อ.เทียบ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนบริรักษ์สรพง
  • พ.ศ. 2457- 2463 ร.อ.ชื่น เป็นผู้บังคับกองพยาบาลที่ 6
  • พ.ศ. 2464- 2468 กองพยาบาลที่ 6 เปลี่ยนเป็น กองพยาบาลกองพลทหารบกที่ 6 ร.อ.หลวงสิทธิโยธารักษ์ เป็นผู้บังคับกอง
  • พ.ศ. 2469 กองพยาบาลกองพลทหารบกที่ 6 เปลี่ยนเป็น กองเสนารักษ์มณฑล 4 มี พ.ต.หลวงเวชชศาสตร์วโรสถ (พริ้ง สถิติรัตน์) เป็นผู้บังคับกอง
  • พ.ศ. 2471 พ.ต.หลวงอาพาธพลพิทักษ์ เป็นผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑล 4
  • พ.ศ. 2476 พ.ต.หลวงอาพาธพลพิทักษ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระพิทักษ์อาพา
  • พ.ศ. 2476 พ.ต.หลวงวิฑูร เวชกิจ เป็นผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑล 4 และได้ย้ายหน่วยมาที่อาคารบริเวณกองพันทหารช่างที่ 4 ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2483 พ.ท.หลวงชำนาญไวทยกิจ (เหล็ง หริณสุต) เป็นผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑล 4 และในปีนี้ทางราชการได้ให้กองเสนารักษ์มณฑล 4 ไปปฏิบัติราชการสนามกรณีฉุกเฉินทางภาคพายัพ

  • พ.ศ. 2486 พ.ท.บุญยศ สุพรรณไพโรจน์ เป็นผู้บังคับกองเสนารักษ์พล 4
  • พ.ศ. 2488 พ.ท.เลื่อน เลาหะคามินทร์ เป็นผู้บังคับกองเสนารักษ์พล 4
  • พ.ศ. 2488 พ.ท.ผิน ทรัพย์สาร เป็นผู้บังคับกองเสนารักษ์พล 4
  • พ.ศ. 2489 กองเสนารักษ์พล 4 เข้าที่ปกติ แปรสภาพเป็นหน่วยกองเสนารักษ์มณฑลทหารที่ 4 และเมื่อ 22 มิ.ย. 2489 ได้มีพิธีเปิดกองเสนารักษ์ในบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2491 พ.ต.สมุท ชาตินันทน์ รองผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4 ทำการแทนผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4
  • พ.ศ. 2492 พ.ท.ถนอม ศรีอำไพ เป็นผู้บังคับกองเสนารักษ์กองพลที่ 4 และเมื่อ ต.ค. 2494 ได้รับพระราชยศเป็น พ.ท.
  • พ.ศ. 2494 พ.ต.สมุท ชาตินันทน์ เป็นผู้บังคับกองเสนารักษ์กองพลที่ 4 และเมื่อ ต.ค. 2494 ได้รับพระราชทานยศเป็น พ.ท.
  • พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้แก้อัตรากองเสนารักษ์กองพลที่ 4 เป็นกองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4 
  • พ.ศ. 2497 พ.ท.สมุท ชาตินันทน์ ได้รับพระราชทานยศเป็น พ.อ. เป็นนายแพทย์ใหญ่ มณฑลทหารบกที่ 4 ทำหน้าที่ผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4
  • พ.ศ. 2497 พ.อ.หลวงสิทธิ์ สิทธิแพทย์ไพบูลย์ (หลวงสิทธิ์แพทย์ไพบูลย์) ข้าราชการบำนาญ เข้ารับราชการเป็นนายแพทย์ใหญ่มณฑลทหารบกที่ 4 ทำหน้าที่ผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4
  • พ.ศ. 2499 กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4 แปรสภาพเป็น กองพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4
  • พ.ศ. 2501 ว่าที่ พ.ต.กุล พิชัยจุมพล รักษาราชการนายแพทย์ใหญ่มณฑลทหารบกที่ 4 ทำหน้าที่ผู้บังคับกองพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4 
  • พ.ศ. 2501 พ.ท.สุชาติ ปาลวัฒน์วิไชย เป็นนายแพทย์ใหญ่มณฑลทหารบกที่ 4 ทำหน้าที่ผู้บังคับกองพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4
  • พ.ศ. 2502 พ.ท.สุชาติ ปาลวัฒน์วิไชย ได้สร้างศาลและปั้นรูปจำลองท่านบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ ทำพิธีเปิดศาลเมื่อ 18 ก.ค. 02
  • พ.ศ. 2504 พ.ท.สมาน หัชยกุล เป็นนายแพทย์ใหญ่มณฑลทหารบกที่ 4 ทำหน้าที่ผู้บังคับกองพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4 และในปีนี้ได้เฉลี่ยยศเป็น พ.อ.
  • พ.ศ. 2505 แปรสภาพกองพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4 เป็นโรงพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4
  • พ.ศ. 2507 พ.อ.เลิศ ฉิมไพบูลย์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4
  • พ.ศ. 2508 พ.อ.สมาน หัชยกุล เป็นผู้อำนวยกการโรงพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4
  • พ.ศ. 2509 เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4 เป็นโรงพยาบาลจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2511 พ.อ.กุล พิชัยจุมพล เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2512 พ.อ.จำนงค์ บุญมาก เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2516 เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลจิรประวัติ เป็นโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ (29 พ.ย. 16)
  • พ.ศ. 2520 พ.ต.อุทัย กรัดศิริ (หัวหน้ากองบังคับการฯ) ทำการแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2521 พ.อ.เปรม พจนปรีชา เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • เดือน ต.ค. พ.ศ. 2525 พ.ท.จรุง พลวิชัย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2527 พ.ท.ไชยวัธน์ พ่วงเชย หัวหน้าฝ่ายรักษาพยาบาล ทำการแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • เดือน เม.ย. พ.ศ. 2528 พ.อ.สืบพงษ์ สังขะรมย์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • วันที่ 11 ก.ย. พ.ศ. 2528 ย้ายกองบังคับการมาอยู่ที่ตั้งใหม่ ริมถนนสายเอเชีย
  • วันที่ 11 ก.ย. พ.ศ. 2529 ย้ายส่วนรักษาพยาบาลทั้งหมดเข้าปฏิบัติงาน ณ ที่ตั้งใหม่
  • วันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2531 พิธีเปิดโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ ณ ที่ตั้งใหม่
  • เดือน พ.ย. พ.ศ. 2532 พ.อ.บัณฑิต ธีราทร เป็นผู้อำนวยการ โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • วันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2537 พ.อ.พรเลิศ จำเรียง เป็นผู้อำนวยการ โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • เดือน พ.ย. พ.ศ. 2545 พ.อ.สาโรจน์ สันติวรวุฒิ เป็นผู้อำนวยการ โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • เดือน พ.ย. พ.ศ. 2548 พ.อ.วีรัฐ เกษสาคร เป็นผู้อำนวยการ โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2554 พ.อ.ธนา สุรารักษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2557 พ.อ.ณัฐนนท์ ภุคุกะ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2558 พ.อ.อนุรัฐ ตันติจารุกร เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2559 พ.อ. มานัส โพธิ์ดี เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2564 พ.อ. เสริมพงษ์ จารุเลิศวุฒิ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • พ.ศ. 2566 พ.อ.ปุญชทร ทิพยวงษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ ถึงปัจจุบัน

การเข้าร่วมรบ

  • พ.ศ. 2483 จัดกำลังพลสนับสนุนออกปฏิบัติราชการสนามในสงครามอินโดจีน ที่กองพลพายัพ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • พ.ศ. 2485-พ.ศ. 2487 จัดกำลังพลสนับสนุนออกปฏิบัติราชการสนามในสงครามเอเชียบูรพาร่วมกับกองพลที่ 4 จังหวัดเชียงราย
  • พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524 จัดกำลังพลสนับสนุนออกปฏิบัติราชการสนามในพื้นที่กองทัพภาคที่ 1 อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี
  • ปัจจุบัน โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ เป็นโรงพยาบาลกองทัพบก ขนาด 150 เตียง สามารถขยายได้เป็น 200 - 250 เตียง ในภาวะสงครามหรือสถานการณ์จำเป็น
  • เป็นสาขาบริการโลหิตแห่งชาติของสภากาชาดไทย สาขาที่ 364
  • เป็นโรงพยาบาลเสริมทักษะของแพทย์จบใหม่
  • พ.ศ. 2549 จัดนายแพทย์และศัลยแพทย์ สนับสนุนภารกิจ ฉก.ผบ.สน.ใน 3 จังหวัดภาคใต้

ชื่อหน่วย

รพ.ค่ายจิรประวัติ ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยหลายครั้ง เท่าที่หลักฐานปรากฏตามลำดับ ดังนี้
  • ปี พ.ศ.2453 ชื่อ กองพยาบาลที่ 6
  • ปี พ.ศ.2469 เปลี่ยนเป็น กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4
  • ปี พ.ศ.2486 เปลี่ยนเป็น กองเสนารักษ์พล 4
  • ปี พ.ศ.2489 เปลี่ยนเป็น กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4
  • ปี พ.ศ.2492 เปลี่ยนเป็น กองเสนารักษ์กองพลที่ 4
  • ปี พ.ศ.2495 เปลี่ยนเป็น กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 4
  • ปี พ.ศ.2499 เปลี่ยนเป็น กองพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4
  • ปี พ.ศ.2505 เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลมณฑลทหารบกที่ 4
  • ปี พ.ศ.2509 เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลจิรประวัติ
  • ปี พ.ศ.2516 เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ

การแบ่งมอบ

  1. การขึ้นตรง
    • เป็นหน่วยสายแพทย์ขึ้นตรงต่อ มทบ.31 ในสายการบังคับบัญชา
    • เป็นหน่วยสายแพทย์ขึ้นตรงต่อ กรมแพทย์ทหารบก ในสายเหล่าสายวิทยาการ
  2. หน่วยในพื้นที่
    • ร.4
    • ร.4 พัน.2
    • ช.พัน.4
    • ป.พัน.4
    • แผนกที่ 3 กคส.สพ.ทบ.
    • แผนกสัตวบาลที่ 2 กสษ.สพ.ทบ.
    • รวท.อท.ศอพท.
  3. กำลังพลที่ต้องสนับสนุนบริการแพทย์ ประมาณ 9,900 คน

ภารกิจ

  1. ให้ทหารบริการแพทย์ในการตรวจและรักษาพยาบาลแก่กำลังพล และครอบครัวของหน่วยทหารในพื้นที่ มทบ.31 และหน่วยใกล้เคียง
  2. ให้การบริการแพทย์ในการตรวจ และรักษาพยาบาลแก่บุคคลทั่วไปในจังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียง
  3. ทำการส่งกลับให้กำลังพลของหน่วยทหารในพื้นที่ มทบ.31 และหน่วยใกล้เคียง
  4. สนับสนุนทางการส่งกำลังสายแพทย์ให้แก่หน่วยในพื้นที่ มทบ.31 และหน่วยใกล้เคียง
  5. ให้การศึกษาฝึกและอบรมวิชาเฉพาะเหล่าแพทย์ แก่พลเสนารักษ์ของหน่วยในพื้นที่ มทบ.31 และหน่วยใกล้เคียง

ขีดความสามารถ

  1. ดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรคทุกสาขา และให้การรักษาพยาบาลด้วยวิธีต่าง ๆ ให้แก่ทหาร ข้าราชการ ลูกจ้าง ตลอดจนครอบครัว และบุคคลพลเรือนทั่วไปตามความจำเป็น
  2. ดำเนินการทางเวชกรรมป้องกันให้กับหน่วยทหารในพื้นที่รับผิดชอบ
  3. ดำเนินการฝึกอบรมวิทยาการทางการแพทย์ให้กับกำลังพลตามที่ได้รับมอบหมาย
  4. ดำเนินการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วยเจ็บ
  5. ดำเนินการฝึกอบรมให้กับทหารกองประจำการ เหล่าทหารแพทย์ตามที่ได้รับมอบหมาย
  6. สามารถสนับสนุน ส.ป.สายแพทย์ หรือจัดตั้งคลัง สป.สายแพทย์ สนับสนุนหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
  7. ในอัตราเต็มสามารถจัดเจ้าหน้าที่ชุดศัลยกรรมสนาม สนับสนุนหน่วยเสนารักษ์ ซึ่งมาปฏิบัติการในพื้นที่ได้ 1-2 ชุด ในห้วงเวลาจำกัด
  8. ปฏิบัติงานเป็น รพ. ขนาด 180 เตียง ในอัตราระดับ 1 และ 150 เตียง ในอัตราระดับ 2 ได้ ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 90 เตียง
  9. ทำการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ในอัตราขึ้นหน่วยได้
  10. ทำการระวังป้องกันตนเองได้อย่างจำกัด
โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ